วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

มหัศจรรย์ ดีเอ็นเอ (DNA)

          ปัจจุบันนี้หากพูดถึงคำว่า "ดีเอ็นเอ (DNA)" ก็คงจะคุ้นหูกันจนเป็นเรื่องธรรมดาไปเสียแล้วสำหรับคนไทย เพราะหากดูจากพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์จะมีความว่า "ดีเอ็นเอ" ปรากฏออกมาเป็นระยะอย่างไม่ขาดสาย... จะหาคนร้ายหรือตรวจสอบฆาตกรก้ต้อง "ตรวจดีเอ็นเอ" อยากรู้ว่าญาติกับคนดังจริงหรือไม่ก็ต้อง "ตรวจดีเอ็นเอ" อยากรู้ว่า "มีอะไรกับใคร" จริงหรือไม่ก็ต้อง "ตรวจดีเอ็นเอ"
          ความจริงคนเราก็รู้จักกับดีเอ็นเอมาเกือบ 140 ปีมาแล้ว แต่นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ไม่ให้ความสำคัญกับมันมากนั้นเนื่องจากกำลังมัวสนใจกับโปรตีน โมเลกุลมหัศจรรย์อีกชนิดหนึ่ง เหตุผลสำคัญก็คือ โปรตีนมีความหลากหลายและสักษณะซับซ้อน จึงเชื่อกันว่า โปรตีนน่าจะเป็นสารทีเหมาะสมกับหน้าที่ในการกุมความลับของชีวิตและเป็น สารพันธุกรรม ที่ถ่ายทอดลักษณะของสิ่งมีชีวิตจากรุ่นหนึงไปยังอีกรุ่นหนึ่ง
          ดีเอ็นเอกลายมาเป็นที่สนใจในวงกว้างมากขึ้นเมื่อ 50 ปีที่แล้วมานี่เอง เมื่อนักวิทยาศาสตร์หนุ่มสองคนในขณะนั้นคือ เจมส์ วัตสัน และ ฟรานซิส คริก ได้ประกาศการค้นพบโครงสร้างดีเอ็นเอว่าเป็นสายคู่ที่บิดพับเป็นเกลียวคล้ายบันไดเวียนแบบที่เรียกว่า ดับเบิลเฮลิกซ์ (double helix)
          เหตุที่บทความดังกล่าวกระตุ้นความสนใจของนักวิทยาศาสตร์ในสมัยนั้น ก็เพราะว่า วัตสันและคริกสังเกตและแนะนำไว้อย่างถูกต้อง(ตรวจสอบด้วยการทดลองในภายหลัง) ว่าสายดีเอ็นเอแต่ละสายทำหน้าที่เป็น "ต้นแบบ" ในการสร้างสายดีเอ็นเอสายใหม่ขึ้นได้ ซึ่งทำให้สมมติฐานที่เริ่มชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆในสมัยนั้นว่า ดีเอ็นเอเองที่น่าจะทำหน้าที่เป็น "สารพันธุกรรม" ....ฟังดูมีน้ำหนักและสมเหตุผลอย่างที่สุด
          การค้นพบดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางและลึกซึ้งต่อแวดวงวิทยาศาสตร์ และส่งผลให้วัตสันและคริกได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์หรือสรีรวิทยาร่วมกับนักวิทยาศาสตร์อีกท่านหนึ่งที่มีผลงานเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด  คือ มัวริส วิลคินส์ ในปี 2505

แหล่งอ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น